ในปี พ.. ๒๓๒๒  ได้โปรดฯ ให้ประชุมสงฆ์สอบถามว่าพระภิกษุจะกราบไหว้ฆราวาสที่บรรลุโสดาบันได้หรือไม่  พระสงฆ์ที่กลัวพระราชอาญาก็พากันถวายพระพรว่าได้ไปตาม ๆ กัน  มีพระชั้นผู้ใหญ่ที่ปฏิเสธก็จะถูกพระราชอาญาเฆี่ยนหลังและถอดยศ  ในสมัยตอนปลายกรุงธนบุรียังเกิดความวุ่นวายคอรัปชั่นขึ้นอีก  คือ  ข้าราชการทำการประจบสอพลอขึ้นเกือบทุกหนทุกแห่ง

                     ในเมืองอยุธยากรุงเก่าก็เกิดมีผู้สร้างอิทธิพลขึ้น  โดยบังคับเก็บค่าภาคหลวงการขุดหาทรัพย์สมบัติที่มีคนฝังไว้ตั้งแต่ครั้งกรุงแตก  แม้จะเป็นของตนเองก็ต้องเสียค่าขออนุญาตขุด  กลุ่มอิทธิพลหรือกลุ่มทุจริตนี้มีขุนสุระนายบุญมาก  ขุนแก้วเป็นหัวหน้า  เมื่อมีกำลังมากจึงยึดอำนาจจากพระยาอินทรอภัย  เจ้าเมืองอยุธยาได้  แล้วกดขี่ข่มเหงชิงเอาทรัพย์จากราษฎรทำให้เกิดความเดือดร้อนขึ้นอย่างหนัก  เจ้าเมืองอยุธยาหลบหนีเข้ากรุงธนบุรี  เมื่อทราบการกบฏจลาจลเกิดขึ้นที่อยุธยา  จึงโปรดฯ ให้พระยาสรรค์ (พี่ชายของขุนแก้ว) ยกกองทัพไปปราบ  แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าเป็นพวกกับขุนสุระ นายบุญมาก และขุนแก้ว  นำกองกำลังยกกลับน้อยมาตีกรุงธนบุรีแล้วบังคับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชให้ผนวชอยู่ที่วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) พระยาสรรค์จึงกุมอำนาจกรุงธนบุรีไว้เป็นเวลาสองสัปดาห์  ในเวลาต่อมาได้คิดที่จะเป็นกษัตริย์แต่พรรคพวกหลายคนคัดค้านไม่เห็นด้วย

                     ก่อนที่จะเกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรีนั้น  เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)  ซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก”  ได้ยกกองทัพไปปราบจลาจลที่เขมร  ข่าวการยึดอำนาจของพระยาสรรค์ได้ทราบถึงพระยาสุริยอภัย (หลานของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก)  เจ้าเมืองนครราชสีมาก่อนพระสุริยอภัย  จึงได้ยกกองทัพมาปราบปรามพระยาสรรค์ได้แล้ว  ขังไว้พร้อมกับพวกก่อการ  เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ซึ่งขณะนั้นกำลังปราบปรามการจลาจลอยู่ที่เขมร)  ทราบข่าวความวุ่นวายทางกรุงธนบุรีจึงรีบยกทัพกลับ  เมื่อถึงกรุงธนบุรีบรรดาข้าราชการและราษฎรทั้งหลายได้พากันอ่อนน้อม  ยกย่องขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์  ได้มีการปรึกษาโทษของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ในที่สุดจึงให้มีการสำเร็จโทษตามคำปรึกษาของข้าราชการ  โดยนำไปประหารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์  แล้วรับสั่งให้เอาพระศพไปฝั่งไว้ที่วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทราราม ปัจจุบัน)  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครองราชย์ ๑๕ ปี  มีพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา

                     ในวันที่ ๖ เมษายน พ.. ๒๓๒๕  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  ได้รับอัญเชิญขึ้นผ่านพิภพปราบดาภิเษกครองราชสมบัติ  เริ่มต้นราชวงค์จักรี  ทรงพระนามว่า  “สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก”  เหตุการณ์ทุกอย่างเข้าสู่สภาพเดิม  เจ้าเมืองต่าง ๆ ถูกโยกย้ายเปลี่ยนแปลงเพื่อความเข้มแข็ง  ส่วนพระยาพิชัยดาบหัก (ขณะนั้นอายุได้ ๔๑ ปี)  ได้รับกระแสพระราชดำรัสให้เข้าเฝ้าโดยด่วน  เพื่อทรงต้องการทราบว่า  ยังมีความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอยู่อย่างล้นพ้นไม่สามารถจะทำจิตใจให้เสื่อมคลายจากความสัตย์ที่มีอยู่เดิมนั้นได้  ถ้าหากจะอยู่รับราชการสนองพระเดชพระคุณในแผ่นดินต่อไปอีกไม่วันใดก็วันหนึ่งความผิดถึงแก่ชีวิตอาจจะเกิดขึ้นได้  เพราะความจงรักภักดีอย่างท้วมท้นต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยังฝังแน่นอยู่ในสำนึกตลอดเวลา  จึงไม่สามารถจะอยู่ปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณได้  ขอตายตามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  จึงกราบบังคมทูลว่า  “ขอได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ขอได้ประหารชีวิตข้าพพุทธเจ้า  แล้วให้นำศพไปฝังไว้ที่วัดราชคฤห์  และช่วยอุปการะบุตรชายให้ได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณเพื่อสืบสกุลต่อไป”  พระยาพิชัยดาบหัก  จึงถูกประหารชีวิตตามที่ต้องการ  แล้วให้นำศพไปฝั่งไว้ที่วัดบางยี่เรือเหนือ (วัดราชคฤห์  ปัจจุบัน)  

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21

เวลา..วันที่..ขณะนี้...

"วัดราชคฤห์วรวิหาร" ตั้งอยู่เลขที่ ๔๓๔  ถนนเทอดไท    แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี   กรุงเทพมหานคร 
 Tel:02-4652908 ::.Created On:: Wed, Nov,17, 2004::.Time::07:19.Am.::
ดูแลเว็บโดย.... webmaster@luangpochom.com::webmaster@watrajkrueh.com

 

ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลครั้งหลังสุด 14/05/2562 10:19:37

luangpochom